สันติ โหลทอง นายกฯอีสปอร์ต เล่าย้อนเบื้องหลัง ก่อนอีสปอร์ตได้รับรองเป็นกีฬา
-
- Posts: 403
- Joined: Fri Apr 29, 2022 1:19 pm
สันติ โหลทอง นายกฯอีสปอร์ต เล่าย้อนเบื้องหลัง ก่อนอีสปอร์ตได้รับรองเป็นกีฬา
นาย สันติ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย ออกมาโพสต์เล่าย้อนถึงขั้นตอนในการก่อตั้งสมาคมฯ ในวันที่อีสปอร์ตยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬา
สันติ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยออกมาเล่าย้อนถึงเบื้องหลังในการก่อตั้งสมาคมฯ ในวันที่อีสปอร์ตยังไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นกีฬา ทำให้ต้องพลาดส่งทีมไปแข่งขันที่เกาหลีใต้
โดยเจ้าตัวได้โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ว่า
ก่อนจะเขียนเรื่องที่ตั้งใจจะเขียน ผมข้อกล่าวถึงเหตุการณ์ 2 เรื่อง
“ผมโดนยัดข้อหาว่าไม่รู้จักอีสปอร์ตจากเด็กบ้าง วัยรุ่นบ้าง ทุกครั้งที่มีขบวนรถทัวร์มาเยือน”
“เกมเมอร์ไทยทนไม่ไหวที่ รมต.กระทรวงดิจิทัลฯ แถลงว่า นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ผลักดันให้อีสปอร์ตได้เหรียญทองซีเกมส์ ออกมากร่นกันสนั่นโซเชี่ยล”
……
ปี 2555 ที่อยากเล่าให้ฟัง ( 1 )
ก่อนที่อีสปอร์ตจะได้รับการยอมรับจากภาครัฐ เกมเมอร์วัยเยาว์น่าจะไม่รู้ “เกม ถูกแบนในประเทศนี้แบบไม่เป็นทางการ” หากได้เจอผู้ประกอบการที่เริ่มทำงานช่วงก่อนปี 2545 – 2555 ลองถามดูว่าทำงานง่ายไหม? บางคนบอกว่ารวยเลย แต่อาจมีต่อท้ายว่าน่าเบื่อมาก เหมือนทำธุรกิจผิดกฏหมาย บางคนถูกมองด้วยสายตาชิงชังจากสังคมราวกับการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกมนั้นคือธุรกิจพนัน ค้ายา ค้ากาม
มันก็มีคนทนไม่ไหวเยอะแยะ ต่างหาทางระบาย หาทางออกให้พ้นจากวิบากกรรมนี้ ต่างคนต่างวิธีครับ ขนาดบางคนค้าขายเกี่ยวกับเกมจนร่ำรวยมีเงินเยอะ แต่ก็ยังถูกป้ายสีให้ดูหมอง ก็แสดงว่าแก้ได้แค่ปากท้องตนแต่ “ยกระดับคุณภาพวิชาชีพ” ไม่ได้
ในที่สุดก็มีความบังเอิญเกิดขึ้นนั่นคือ
“ความต้องการที่ผมอยากส่งทีมอาโมเทลของเกม SF ในมหกรรมกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์แอนด์มาเชี่ยลอาร์ตเกม ที่เมืองอินชอน เกาหลีใต้” แต่เจ้าภาพไม่รับนักกีฬาจากเอกชน เนื่องจาก “มหกรรมกีฬา” นั้นเป็นของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเอเชีย จะรับเฉพาะนักกีฬาที่ส่งผ่านคณะกรรมการโอลิมปิกจากแต่ละประเทศเท่านั้น
จากความต้องการดังกล่าว ทำให้ผมต้องติดต่อไปยังคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อขอร้องให้รับทีมอาโมเทลเข้าสู่ระบบ “ทีมชาติ” เสียก่อน แต่ก็ไม่สามารถทำได้จากคำตอบว่า “ไม่ใช่กีฬา” ก็เลยรับไม่ได้
อ่านแล้วเป็นไงครับ ถ้าเขียนแค่นี้ โกรธใช่ไหม? ล้าสมัยใช่ไหม? ก็มีสิทธิ์คิดเช่นนั้นนะ เพราะวันนั้นผมเองที่ยังไม่เข้าใจอะไรมากก็ขัดใจ วัยรุ่นไง! ไม่ทันใจก็ร้อนหัวเลย ( ที่จริงตอนนั้นผมเลยวัยรุ่นมาไกลแล้ว เพราะอายุ 48 แต่ที่ยังดูวัยรุ่นเพราะเล่นเกมเยอะ ) ใช่ครับเพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ แต่ก็เก็บมาคิด วิเคราะห์ แยกแยะต่อว่า ไอ้ที่บอกว่า “ไม่ใช่กีฬา” นี่มันหมายความว่าอย่างไร แล้วมันทำให้ “เป็นกีฬา” ได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
ทำไงล่ะ ทิ้งงานที่ทำมานั่งทำงานจริง ๆ ด้วยการปรับแผนสู้หาทางไปต่อ คำว่าทิ้งงานคือหยุดเล่นเกม ก็งานผมคือเล่นเกมนะอย่าลืม และมาอ่าน มารวมทีมค้นคว้าหาวิธีแปลรูปการเล่นเกม ให้เป็นอะไรก็ได้ให้มันหล่อกว่าเดิม ซึ่งกินเวลานานมากกว่าจะพบว่า การที่ให้การแข่งเกม “เป็นกีฬา” ต้องทำให้การแข่งเกมนั้นมีคุณสมบัติครบตาม พรบ. กีฬาเสียก่อน ซึ่งจะอยู่ภายใต้ระเบียบที่มีหน่วยงานที่ชื่อว่า “การกีฬาแห่งประเทศไทย” เป็นผู้ดูแล
เรื่องที่เขียนมานี่อยู่ในระหว่างปี 2555-2556
ในช่วงนั้นผมโดนยัดข้อหา “บ้า” จากผู้คนมากมาย จากการที่ผมดึงดันที่จะทำให้การแข่งเกมควรได้รับการยอมรับให้เป็น “กีฬา” เขามองว่าผมเพี้ยนบ้าง เนิร์ดบ้าง ใช้ศรัทธามากไปไม่คำนึงถึงเหตุผลบ้าง เพราะเดินหน้าทำในสิ่งนี้ ไม่เพียงเท่านั้นการทำงานในสิ่งที่ไม่เคยทำ ขาดองค์ความรู้ ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและตัดสินใจเปลี่ยน ตัดสินใจเพิ่ม จึงมีให้เห็นตลอดเวลา ซึ่งแม้กระทั่งคนใกล้ตัวยังไม่เข้าใจ บางคนถามว่ายากขนาดนี้ยังจะทำต่ออีกหรือ บางคนมองว่าผมเผด็จการ
สรุป
เข้าสู่ระบบสหพันธ์ที่เป็นทางการ ใช้กติกาที่นานาชาติยอมรับ
หยุดเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ แล้วยื่นเรื่องเป็นเอกสารแบบเป็นทางการ
ค้นพบว่าการแค่สนับสนุนทีม การจัดแข่ง ไม่เพียงพอจะให้ประเทศนี้ยอมรับ
มีความหวัง แต่ยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์